วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

10 เทคนิคการสร้าง Link Popularity ให้กับบล็อก

10 เทคนิคการสร้าง Link Popularity ให้กับบล็อก
การเพิ่มจำนวน Link Popularity เป็นอีกวิธีหนึ่งในกระบวนการทำ SEO ให้กับบล็อกของคุณ นอกเหนือจากการเพิ่ม Link Popularity แล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาส ที่คนจะเข้ามาอ่านบล็อกของคุณมากขึ้นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบล็อก ลองดู 10 เทคนิคการสร้าง Link Popularity ให้กับบล็อกของคุณกันดูดีกว่าครับ รับรองว่าสิ่งเหล่านี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยากเลยครับ
1. Link ไปหาบล็อกอื่น
วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือทำ link ไปหาบล็อกอื่น ๆ ที่คุณสนใจก่อนเลย นักเขียนบล็อกหลาย ๆ ท่านมักจะใจจดใจจ่อ อยู่ตลอดอยู่แล้วว่า จะมีใครทำ link มาหาบ้าง เมื่อคุณลิงค์ไปหาเค้าก่อน คุณก็อาจจะได้เป็นจุดสนใจ ทำให้เจ้าของบล็อกนั้น ๆ รู้จักบล็อกของคุณ คราวนี้แหละครับ ถ้าบล็อกเราดีจริง เค้าก็คงไม่รังเกียจที่จะทำ link มาหาเราแน่นอนครับ หรือถ้าให้ชัวร์ หลังจากที่คุณทำลิงค์ไปหาบล็อกอื่นแล้ว ลองเมล์ไปบอกเจ้าของบล็อกเค้าด้วยก็ดีครับ ว่าเราทำลิงค์ไปหาแล้วนะครับ
2. ไป Comment ที่บล็อกคนอื่นบ้าง
เวลาเราไปอ่านบล็อกคนอื่น ก็ไปเขียนคอมเม้นต์ไว้บ้างนะครับ มีคำแนะนำนิดนึงว่า อย่าไป spam comment เค้านะครับ เพราะขนาดเราเองยังรำคาญเวลามีคนมา spam comment ของเรา ใจเขาใจเราครับ
3. Submit บล็อกเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ
ข้อนี้ต้องขยันนิดนึง เพราะคุณต้อง submit บล็อกของเราเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ข้อได้เปรียบของบล็อกก็คือ คุณสามารถโปรโมทบล็อกไปสู่ search engine ของเว็บได้ และยังโปรโมทไปสู่ search engine เฉพาะทางเช่นพวก Blog Search Engine ได้อีกด้วย
4. ออกแบบบล็อกให้ดูดีสวยงาม
ถ้าคุณออกแบบบล็อกให้สวย ๆ หรือมีดีไซน์ที่โดดเด่นสะดุดตา คุณก็มีโอกาสที่จะโปรโมทเว็บของคุณที่ Rookienet หรือเว็บที่พูดคุยถึงเรื่องการดีไซน์เว็บ เป็นต้น
5. ใช้ CSS ในการออกแบบบล็อก
หากดีไซน์สวยแล้ว ยิ่งใช้ css ในการ coding เข้าไปอีก โอกาสยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะคุณจะมีโอกาสได้โปรโมทไปสู่ระดับโลก เช่นเว็บ CSSvault ซึ่งถ้าคุณออกแบบสวยและใช้ CSS คุณก็สามารถส่งบล็อกของคุณ เข้าไปให้เค้าพิจารณาได้
6. ทำ Tag ไปหา technorati
บล็อกเสิร์ชเอนจิ้นชื่อดังอย่าง Technorati นั้นมี pagerank ที่สูงทีเดียว ยิ่งถ้าแต่ละบทความของคุณ มีการใส่ tag ไปแจ้ง technorati ไว้ เราจะได้ผลสองทางคือ ทางตรง ได้ไปอยู่ใน technorati directory และ ทางอ้อม คือ bot ของ search engine ต่าง ๆ จะวิ่งต่อจาก technorati มาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราด้วย
7. ทำ signature ตอนตอบกระทู้ใน Web Board
เวลาไปตอบกระทู้ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็อย่าลืมตั้งค่า signature ให้ลิงค์มาที่บล็อกของคุณด้วย คำแนะนำคือ ตอบกระทู้ในสิ่งที่คุณตอบได้ อย่า spam เว็บบอร์ด ให้ตอบในเรื่องที่เรารู้จริง จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้บล็อกของเราได้อีกด้วย ลองแวะไปที่เว็บบอร์ดสำหรับชาวบล็อกอย่าง Blogger Talk ก่อนได้
8. ใช้ Social Bookmark
ในยุค web 2.0 อย่างตอนนี้ ลองใช้ประโยชน์จากเว็บพวก social bookmark ให้เกิดประโยชน์ ถ้าบทความในบล็อกของเรา ได้ไป link อยู่ในเว็บเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่ม traffic และเพิ่ม link popularity ไปในตัว ลองดูเว็บอย่าง del.icio.us หรือ digg แต่ถ้าหากเป็นของไทย ลองแวะไปที่ Zickr
9. Ping ไปที่ Blog Search Engine
ถ้าระบบบล็อกของคุณเป็นโปรแกรมอย่างพวก WordPress หรือ MovableType คุณก็จะสามารถตั้งค่าของโปรแกรมให้ทำการ ping บทความหรือบล็อกของคุณ เข้าสู่ Blog Search Engine ในทุก ๆ ครั้งที่คุณอัพเดทบล็อกโดยอัตโนมัติ ลองดู ping list ที่นี่ดูครับ หรือถ้าหากใครตั้งค่า ping ไม่เป็น ลองดูวิธีที่ผมเคยเขียน วิธีการ ping ของ WordPress ไว้นะครับ
10. เขียนบทความให้เว็บอื่นหรือบล็อกอื่นๆ
หลายแห่งเปิดให้เราได้แสดงความสามารถ หรือเขียนบทความที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มเป็นหมายของเว็บไซต์ หรือบล็อกของเค้า และส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราเขียนเรื่องส่งไป เราจะได้ credit เล็ก ๆ ก็คือ link กลับมาหาบล็อกของเรา ไม่ต้องไปมองที่ไหนไกล keng.com นี่แหละเปิดให้เขียนเรื่องส่งมาแล้ว ลองแวะไปดู รายละเอียดการเขียน ก่อนได้
Credit by : http://www.pawoot.com/node/254

บทที่ 5 การอ่านแบบข้อมูลของตัวแปรหรือค่าคงที่

บทที่ 5 การอ่านแบบข้อมูลของตัวแปรหรือค่าคงที่
ถ้าต้องการเช็คดูว่า ตัวแปรมีข้อมูลแบบใด เราสามารถใช้คำสั่ง gettype() ได้ ค่าที่ได้จากฟังก์ชันก็จะเป็น "integer" "double" หรือ "string" เป็นต้น

echo gettype(0),"\n";
echo gettype(1.1),"\n";
echo gettype(""),"\n";
echo gettype((1==1)),"\n";

$var="abc";
if ( gettype($var)=="string" ) {
echo "this is a string\n";
}

?>

เราอาจจะไม่ใช้ gettype() ก็ได้ แต่เลือกใช้ฟังก์ชัน is_long() สำหรับเช็คค่าที่เป็นเลขจำนวนเต็ม, is_string() สำหรับเช็คค่าที่เป็นสตริงค์, is_double() สำหรับค่าที่เป็นเลขทศนิยม, is_array() สำหรับค่าที่เป็นอาร์เรย์ หรือ is_object() สำหรับค่าที่เป็นออปเจคจากคลาสแทน ซึ่งจะให้ค่าเท่ากับ true (1) ถ้าตัวแปรมีแบบข้อมูล ตรงตามที่กำหนด

unset($a);
$a="hello";
if (is_string($a) == true) {
echo "\$a is a string
\n";
}

unset($a);
$a[]="red";
$a[]="green";
$a[]="blue";

if (is_array($a) == true) {
echo "\$a is an array of size ",count($a),"
\n";
}

?>

บทที่ 4 การอ่านและแปลงแบบข้อมูลในตัวแปรหรือค่าคงที่แบบเจาะจง

บทที่ 4 การอ่านและแปลงแบบข้อมูลในตัวแปรหรือค่าคงที่แบบเจาะจง
เราสามารถแปลงแบบข้อมูลจากแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง (type casting) เช่น แปลงจากข้อความที่มีเฉพาะตัวเลขให้กลายเป็นเลขจำนวนเต็ม (int) หรือทศนิยม (double), (float), (real) หรืออาจจะใช้คำสั่ง settype() ทำได้ตามตัวอย่างต่อดังนี้

$x = ((double)"100.1") + 0.3e+3;
echo $x,"
\n";
echo ($x=(int)$x),"
\n";
$x = "P".$x."\n";
echo $x,"
\n";

$x= ceil(13.45); /* get integer part */
echo $x,"
\n";
if (!settype( $x, "integer") ) {
echo "error\n";
}
echo $x," $x%5=",($x%5),"
\n";

?>

บทที่ 3 การใช้ตัวแปรในภาษา PHP

บทที่ 3 การใช้ตัวแปรในภาษา PHP
สำหรับการเขียนโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือ การกำหนดและใช้ตัวแปร (variable) ตัวแปรในภาษา PHP จะเหมือนกับในภาษา Perl คือเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย dollar ($) โดยเราไม่จำเป็นต้องกำหนดแบบของข้อมูล (data type) อย่างเจาะจงเหมือนในภาษาซี เพราะว่า ตัวแปลภาษาจะจำแนกเองโดยอัตโนมัติว่า ตัวแปรดังกล่าว ใช้ข้อมูลแบบใด ในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ข้อความ จำนวนเต็ม จำนวนที่มีเลขจุดทศนิยมตรรก เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่น

$mystring = "Hello World!";
$myinteger = 1031;
$myfloat = 3.14;
ถ้าเราต้องการจะแสดงค่าของตัวแปร ก็อาจจะใช้คำสั่ง echo ได้ ตัวอย่างเช่น

echo "$mystring\n";
echo "$myinteger\n";
echo "$myfloat\n";
สัญลักษณ์ \n หมายถึงการขึ้นบรรทัดใหม่ เป็น escape character ตัวหนึ่ง (สำหรับตัวอื่นๆ โปรดดูในตาราง) เมื่อพิมพ์ข้อความเป็นเอาพุต และโปรดสังเกตว่า สำหรับการใช้งานภายในเอกสาร HTML การขึ้นบรรทัดใหม่โดยใช้ \n จะแตกต่างจากการขึ้นบรรทัดโดยใช้
ใน HTML

$mystring = "Hello World!";
$myinteger = 1031;
$myfloat = 3.14;
echo "$mystring
\n";
echo "$myinteger
\n";
echo "$myfloat
\n";
?>

Escaped characters
\n newline
\r carriage
\t horizontal tab
\\ backslash
\$ dollar sign
\" double-quote
%% percent
ตัวแปรตัวหนึ่ง อาจจะมีข้อมูลหลายแบบในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่การจะใช้งานบ้างครั้งจะต้องดูด้วยว่า เมื่อไหร่จะใช้เป็นตัวเลขเท่านั้น และไม่ใช้กับข้อความเป็นต้น ตัวอย่างเช่น

$x = 10;
$y = $x + 15.5;
echo "$x, $y \n";
$x = "abc";
echo "$x \n";
$z = $x + 15.5;
echo "$x, $z \n";
echo ("100.5" - 16);
echo (0xef + 007);

?>

ในกรณีนี้ เรากำหนดในตอนแรกว่า $x ให้เก็บค่า 10 ซึ่งเป็นจำนวนเต็ม ถ้าเรานำมาบวกกับ 15.5 ผลที่ได้ก็จะเป็น 25.5 ซึ่งกลายเป็นเลขทศนิยม แล้วเก็บไว้ในตัวแปร $y ต่อมากำหนดให้ตัวแปร $x เก็บสตริงค์ที่เก็บข้อความ "abc" ถ้าเรานำมาบวกกับ 15.5 กรณีนี้ก็จะให้ผลที่ได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สามารถนำข้อความมาบวกกับตัวเลขได้
แต่ PHP อนุญาตให้เราทำเช่นนั้นได้ในบางกรณี สมมุติว่า สตริงค์มีเฉพาะตัวเลขและสามารถเปลี่ยนเป็น เลขจำนวนเต็ม หรือจำนวนจริงได้โดยอัตโนมัติ เราก็นำสตริงค์ นี้มาบวกลบคูณหรือหารกับตัวแปรที่เก็บเป็นตัวเลขได้

ค่าคงที่สำหรับเลขจำนวนเต็ม อาจจะอยู่ในรูปของเลขฐานแปดหรือสิบหกก็ได้ ถ้าเป็นเลขฐานแปดจะมีเลขศูนย์นำ ถ้าเป็นเลขฐานสิบหกจะมี 0x นำหน้า

บทที่ 2 การสอดแทรกคำสั่งภาษา PHP ในเอกสาร HTML

เพื่อเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่า ส่วนใดเป็นคำสั่ง PHP ที่อยู่ภายในเอกสาร HTML จึงได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ไว้ดังนี้ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น
1. (SGML style)
2. (XML style)
3. (JavaScript style)
4. (ASP style)
ที่นิยมก็คือแบบแรก โดยเริ่มต้นด้วย และตรงกลางจะเป็นคำสั่งในภาษา PHP
เราสามารถวางคำสั่ง PHP ไว้ภายในเอกสาร HTML ตามที่ต้องการได้ อาจจะสลับกับ Tag ของภาษา HTML ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
คำสั่งแรกที่ง่ายที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ก็คือคำสั่ง echo แล้วตามด้วยข้อความหรือสตริงค์ (string)
ข้อความในภาษา PHP จะเริ่มต้นและจบด้วย double quote (") เหมือนในภาษาซี
ตัวอย่าง แสดงข้อความลงในเอกสาร HTML
โปรดสังเกตว่า คำสั่งแต่ละคำสั่งในภาษา PHP จะจบท้ายคำสั่งด้วย semicolon (;) เหมือนในภาษาซี ซี่ง คำสั่งหรือฟังก์ชันในภาษา PHP นั้นจะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือใหญ่

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของภาษา PHP

PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น

ถ้าใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่า เราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบันที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่ง ใดตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้ เช่น ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ web server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนิ้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ค่าเวลาเป็นเอาพุท (output) และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง

อาจจะกล่าวได้ว่า PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิมๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูลหรือ database เป็นต้น

PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับ เป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995 เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และเวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 ในปัจจุบัน

PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

รายชื่อของนักพัฒนาภาษา PHP ที่เป็นแก่นสำคัญในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

  • Zeev Suraski, Israel
  • Andi Gutmans, Israel
  • Shane Caraveo, Florida USA
  • Stig Bakken, Norway
  • Andrey Zmievski, Nebraska USA
  • Sascha Schumann, Dortmund, Germany
  • Thies C. Arntzen, Hamburg, Germany
  • Jim Winstead, Los Angeles, USA
  • Rasmus Lerdorf, North Carolina, USA

เนื่องจากว่า PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache WebServer และ Personal Web Server (PWP) สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT

ในกรณีของ Apache เราสามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่ง Apache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิ ภาพในการทำงาน การใช้ PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่งของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับภาษา PHP และทำความเข้าใจการทำงาน รวมถึงคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

มารู้จักระบบ ERP

การบริหารทรัพยากรขององค์กร

การบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning ย่อ ERP) หมายถึง การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนใน Supply Chain จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการการผลิตดังนี้

  • การพัฒนารูปแบบของการดำเนินงานในโรงงาน
    • โดยจะมีการนำเอา e-Manufacturing เข้ามาใช้ในโรงงานนั้นจะช่วยในเรื่องของการผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ในคงคลัง, จัดมาตรฐานของหน้าบ้าน และการจัดการบำรุงรักษาเครื่องจักร มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
  • การนำเอาอินเทอร์เน็ตมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

อินเทอร์เน็ตนั้นได้เข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้า ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อของได้เพียงปลายนิ้วคลิก และยังสามารถเลือกรูปแบบตามความต้องการได้ นอกจากเป็นเครื่องมือในการซื้อและแหล่งข้อมูลที่สำคัญ แล้วนั้นยังทำให้ธุรกิจนั้นเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วด้วย สำหรับผู้ผลิตแล้วการที่มี e-Business อย่างเดียวนั้นคงจะไม่สามารถทำงานได้ดีหากปราศจากโซ่อุปทานที่เป็นมืออาชีพและสินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อที่จะผลิตสินค้าให้เป็นที่พอใจของลูกค้า การที่มีสินค้าเพียงเก็บไว้ในคงคลังนั้นคงไม่พอแล้ว สำหรับตลาดที่มีการแข่งขันสูงในตอนนี้

  • กลยุทธ์ในการนำความขัดแย้งออกจากวิสาหกิจ

ลักษณะของกลยุทธ์ทาง e-Manufacturing เป็นอย่างไร ลองดูเรื่องสั้นนี้ที่จะช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของลิมิตสวิตช์ (Limit Switch) ซึ่งเป็นเพียงแค่สวิตช์ปิดเปิดธรรมดาที่มีแขนยื่นออกมา ตัวลิมิตสวิตช์ จะอยู่ติดบนสายพาน ในแต่ละครั้งที่วัตถุมาบนสายพาน มันจะผลักตัวแขนออกไปทางหนึ่งซึ่งหมายถึงสวิตช์กำลัง เปิด อยู่ และเมื่อกล่องผ่านไปตัวแทนก็จะตีกลับมาที่เดิม


[แก้]ประวัติ

แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System) ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP ในที่นี้จะทำการอธิบาย ความเป็นมาของ MRP โดยย่อว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP ได้ดียิ่งขึ้น และตัวแนวคิด ERP เองก็ยังมีวิวัฒนาการอยู่ จาก ERP ก็จะเป็น Extended ERP และจะพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต

2.1 กำเนิดของ MRP แนวคิดMRPเกิดขึ้นครั้งแรกที่อเมริกาในยุคต้นของ ทศวรรษ 1960 ในช่วงแรก MRP ย่อมาจาก Material Requirement Planning (การวางแผนความต้องการวัสดุ) เป็นวิธีการในการหาชนิดและจำนวนวัสดุที่ต้องใช้ในการผลิตตามตารางเวลาและจำนวนสินค้าที่ได้วางแผนโดย MPS (Master Production Schedule)

2.2 Closed Loop MRP ย่างเข้ายุคปี ค.ศ. 1970 MRP ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการป้อนกลับข้อมูลการผลิตจริงใน shop floor นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวคิดเรื่อง การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (Capacity Requirement Planning)

2.3 การพัฒนาไปสู่ MRP II จากความสำเร็จของ Closed Loop MRP ก็เกิดการพัฒนาต่อยอดขึ้นเป็น MRP II ในยุคปี ค.ศ. 1980 (โดย MRP ใหม่นี้ย่อมาจาก Manufacturing Resource Planning) ซึ่งได้รวมการวางแผนและบริหารทรัพยากรการผลิตอื่นๆ นอกจากการวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต และวัตถุดิบการผลิต เข้าไปในระบบด้วย

2.4 จาก MRP II ไปเป็น ERP MRP II เป็นแนวคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ERP ได้ขยายแนวคิดของ MRP II ให้สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรของธุรกิจที่หลากหลาย โดยการรวมระบบงานหลักทุกอย่างในองค์กรเข้ามาเป็นระบบเดียวกัน

[แก้]คำจำกัดความ

การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) เป็นการนำระบบงานทุกอย่างในองค์กรมาทำการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและมีการนำข้อมูลจากทุกแผนกงานต่างๆนั้นนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีผู้ที่ได้ให้ความหมายหรือคำนิยามเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากร องค์กรไว้ดังต่อไปนี้

การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน (ธงชัย สันติวงษ์ ,http://www.nationejobs.com/ask/guru_t2_thai.asp?askno=1066)

วิธีการที่องค์กรนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะนำมาสู่การจัดการที่จะให้เกิดมูลค่าสูงสุด (Value Chain) ในองค์กรโดยจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในองค์กรทั้งหมด ดังนั้นจึงทำให้หน่วยงานทุกหน่วยงานในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลอันเดียวกันได้ อาทิเช่น คำสั่งซื้อ (Sales Order) ที่เกิดขึ้นมาหนึ่งคำสั่งจะมีผลต่อหน่วยงานอื่นๆโดยอัตโนมัติอาทิเช่น โรงงาน (Manufacturing) , คลังสั่งซื้อ (Inventory) , จัดซื้อ (Procurement) , อินวอยซ์ (Invoice) , ลงบัญชี (Financial ledger) เป็นต้น (http://www.IeaTth.com/Csgroup)

ทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์กรที่ทำให้เกิดผลผลิตขององค์กรได้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในสิ่งที่เราทำได้ เช่น การบริการ, การผลิต ที่เราจะเข้าไปแปรสภาพให้ได้มูลค่าเพิ่ม และเราจะจัดการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) นี้อย่างไรนั่นเอง การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) นี้จำเป็นจะต้องเชื่อมโยงกับซอฟต์แวร์ เพื่อให้การเชื่อมโยงสามารถนำไปจัดการกระบวนการต่างๆ ได้ เช่น เพื่อซื้อวัตถุดิบเข้ามา, การรับคำสั่งของลูกค้าให้ถูกต้อง, ส่งมอบสินค้าในเวลาที่ต้องการ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะต้องนำคิดเป็นต้นทุน จัดทำเป็นบัญชี โดยการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงกันทั้งองค์กร และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และประสานกันเป็นหนึ่งนั่นเอง (ปรีชา พันธุมสินชัย , 2547)

ระบบสารสนเทศในองค์กรวิสาหกิจที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง,การผลิต,การขาย,การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่างทันทีทันใด (real time) (อิทธิ ฤทธาภรณ์ และ กฤษดา วิศวธีรานนท์, 2547:7)

[แก้]รูปแบบ

ERP (Enterprise Resource Planning) สามารถจัดการ Transaction Cycle ได้หมดดังนี้

- Expenditure

- Conversion

- Revenue

- Financial

ERP เป็น Software ที่ใช้ในการ Manage ได้ทั้งองค์กร โดยที่มี common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้มีประสิทธิภาพ มีการ Share ข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และ สามารถที่จะ Integrate ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing

ก่อนที่จะมีระบบ ERP นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรมประมาณช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning ( MRP ) ก็คือเราจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุดิบหรือ Material ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่องจักร ( Machine ) และส่วนของเรื่องการเงิน ( Money ) นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า Manufacturing Resource Planning ( MRP II )

จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้ ดังที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า ระบบ MRP นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการทางด้าน Material ส่วนระบบ MRP II นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการใน M อีกสองตัวนอกเหนือจาก Material ก็คือ Machine และ Money ซึ่งระบบ MRP II ที่ชื่อ TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์ จะมีเมนูหลักของ Module 3 Modules หลักด้วยกันคือ Financial Accounting , Distribution และ Manufacturing และใน Module ของ Manufacturing จะมีส่วนของ MRP รวมอยู่ด้วย

จะเห็นได้ว่าในการนำเอาระบบ MRP II เข้ามาช่วยในองค์กรหนึ่งๆ นั้น จะยังไม่สามารถซัพพอร์ตการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้ นี่จึงเป็นที่มาของระบบ ERP ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า ERP นั่นเอง ดังนั้นระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร ( Enterprise Wide ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ 4 M ซึ่งจะประกอบไปด้วย Material , Machine , Money และ Manpower นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าไปดูที่เมนูหลักของระบบ ERP เราจะพบว่ามีเมนูของทั้ง MRP และ MRP II รวมอยู่ด้วยเพราะ ERP มีต้นกำเนิดมาจากระบบ MRP และ MRP II นั่นเอง

ERP จะเน้นให้ทำ Business Reengineering เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้ากับ ERP ซึ่งจะแบ่ง Function Area เป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ

1. Marketing Sales

2. Production And Materials Management

3. Accounting And Finance

4. Human Resource

แต่ละส่วนจะมี Business Process อยู่ในนั้น ซึ่งจะมีหลาย Business Activity มาประกอบกัน เช่น activity การออก Invoice เป็น Activity แต่ละ Activity จะไปต่อเนื่องกันหลายๆอันออกไปจนกลายเป็น Process ที่เรียกว่า “Computer Order management” ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ Functional Area ที่เรียกว่า “Marketing And Sale” Concept หลักๆของ ERP คือ เอาทุกข้อมูลของแต่ละแผนกมา Integrate กัน เพื่อ Share ข้อมูลกัน

โปรแกรม ระบบ SAP คืออะไร

โปรแกรม ระบบ SAP คืออะไร

SAP (Systems, Applications and Products in Data Processing") A company from Germany that sells the leading suite of client-server business software. The US branch is called SAP America.

SAP is a real-time and integrated software that can control all of business jobs to do in the corrected and perfect ways.

SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้

ใน SAP เองมี Modules หลายๆ Modules ที่มีหน้าที่ทำงานแตกต่างกัน แต่สอดประสานกัน ในแต่ละ Modules จะส่งข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกัน ถึงกัน โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนในแต่ละ Modules และ มีการพัฒนาขึ้นมาในลักษณะของ Based on Best Practice in Industry

กล่าวโดยสรุป SAP (System Application products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP (Enterprise Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของบริษัท

Application Module หลักๆในระบบ SAP

  • FI Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
  • CO Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
  • AM Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดกาสินทรัพย์ถาวร
  • SD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
  • MM Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ
  • PP Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
  • QM Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ
  • PM Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
  • HR Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
  • TR Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
  • WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
  • IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตร
  • Project Systems - PS
  • System Management - BASIS
  • Advanced Business Application Programming - ABAP
  • Business Information Warehousing - BIW
  • Customer Relationship Management - CRM
  • Advanced Planner Optimizer - APO
  • Product Lifecycle Management - PLM
Credite by : http://mfatix.com/home/node/43